12 ตุลาคม 2564

ข่าวประชาสัมพันธ์, ประชาสัมพันธ์

ร่วมนำเสนอผลการวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านกิจกรรมทางกาย “8th ISPAH Virtual Congress Vancouver 2021”

  

  

 

วันที่ 12-14 ตุลาคม 2564 คณะนักวิจัยศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวน 9 ท่าน ประกอบด้วย 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา 2) อาจารย์ ดร.ดิยาฮ์ อนันตาเลีย วิดยาสตาริ 3) นายอับดุล อุ่นอำไพ 4) นางสาวณัฐพร นิลวัตถา 5) นางสาวนันทวัน ป้อมค่าย 6) นางสาวเยาวภา ตระหง่าน 7) นายดนุสรณ์ โพธารินทร์ 8)นางสาวสโรชา เกสโร และ 9) นางสาวรุ่งรัตน์ พละไกร ได้ร่วมนำเสนอผลการวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านกิจกรรมทางกาย “8th ISPAH Virtual Congress Vancouver 2021” ซึ่งจัดขึ้นโดยประเทศแคนาดา ในนามองค์กร International Society for Physical Activity and Health (ISPAH) ในรูปแบบการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ WHOVA และ ZOOM โดยมีการนำเสนอแบบ Oral Presentation จำนวน 2 เรื่อง และ Mini-Oral presentation จำนวน 7 เรื่อง

การประชุม “8th ISPAH Virtual Congress Vancouver 2021” ครั้งนี้เป็นการประชุมนักวิชาการระดับนานาชาติที่มีความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายของผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทั่วโลกโดยในครั้งนี้มีการจัดในลักษณะ Virtual Conference มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น 831 คนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ซึ่งหัวข้อการนำเสนอของแต่ละท่าน มีดังหัวข้อต่อไปนี้

• Session Oral Presentation ได้แก่หัวข้อ The effect of containment measures during the COVID-19 pandemic to sedentary behavior of Thai Adults: Evidence from Thailand's surveillance on physical activity 2019-2020
• และหัวข้อ Physical activity level during the Covid-19 pandemic: Evidence from Thailand's Surveillance on Physical Activity 2019-2020

➢ ในส่วน session ของ Mini-Oral Presentation ได้แก่หัวข้อต่อไปนี้

• Mini-Oral Presentation A1.8 Association between schools' healthy space and happiness in Thailand primary schools
• Mini-Oral Presentation A3.1 Physical activity and mental health in children and adolescent during the COVID-19 pandemic 2020
• Mini-Oral Presentation A3.2 Virtual Community Model for physical activity promotion among Generation Y population during COVID-19 pandemic
• Mini-Oral Presentation A3.4 Physical activity and mental health in Thai elderly people during the COVID-19 lockdown
• Mini-Oral Presentation A3.14 Cost-effectiveness estimation of brief advice as part of routine care intervention on physical activity promotion in Thailand
• Mini-Oral Presentation A3.16 Review of empowered running events as physical activity promotion for NCDs prevention in Thailand
• และ Mini-Oral Presentation C2.6 Forecasting the Cost-Effectiveness of Awareness Campaign as physical activity promotion in preventing non-communicable diseases (NCDs) in Thailand

จากการประชุมครั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประเด็นคำถามที่น่าสนใจมากมายให้ทีมวิจัยนำมาพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายในอนาคตต่อไป